ติดอาวุธ DEK สาขาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ SPU ด้วยการใช้เครื่องมือดิจิทัลทางการบริหารจัดการสมัยใหม่

ผศ.ดร.กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล หัวหน้าสาขาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พร้อมด้วย ผศ.ดร.ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์ และผศ.อรนิษฐ์ แสงทองสุข อาจารย์ประจำสาขาฯ จัดกิจกรรมโครงการอบรม พัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการเตรียมความพร้อมด้านการใช้เครื่องมือดิจิทัลทางการบริหารจัดการสมัยใหม่ เพื่อสู่ตลาดแรงงานภาคธุรกิจ โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์วลีพร จิตรพงษ์ วิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทางด้านการใช้เครื่องมือดิจิทัลทางการบริหารจัดการองค์กรสมัยใหม่ มาถ่ายทอดความรู้และเทคนิคต่างๆเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือดิจิทัลทางการบริหารจัดการสมัยใหม่ สำหรับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ SPU ณ ห้อง Convention ชั้น 4 อาคาร 11 มหาวิทยาลัยศรีปทุม กทม.(บางเขน) เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2566

ทางด้าน ผศ.ดร.กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล หัวหน้าสาขาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ ได้กล่าวว่า สาขาวิชาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต จึงมุ่งพัฒนาศักยภาพนักศึกษาผ่านกิจกรรมโครงการต่างๆ ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างความเป็นมืออาชีพในการทำงานและปลูกฝังจิตวิญญาณของการเป็นนักบริหารและการจัดการสมัยใหม่ในองค์กรยุคดิจิทัล ให้แก่นักศึกษาตั้งแต่ก้าวสู่รั้วมหาวิทยาลัยจนกระทั่งสำเร็จการศึกษา ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่ต้องดำเนินการให้ต่อเนื่องและมีความเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
ในปีการศึกษา 2565 สาขาวิชาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ ได้จัดโครงการพิเศษเตรียมความพร้อมด้านการใช้เครื่องมื่อดิจิทัลทางการบริหารจัดการสมัยใหม่ เพื่อสู่ตลาดแรงงานภาคธุรกิจ ขึ้น เพื่อสร้างเสริมศักยภาพให้แก่นักศึกษา ในด้านทักษะการนำเครื่องมือดิจิทัลทางการบริหารองค์กรมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการปรับตัวขององค์กรในยุคดิจิทัล ทั้งนี้ทางสาขาฯ ได้เชิญผู้บริหารที่มีประสบการณ์การใช้เครื่องมือดิจิทัลทางการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ มาบรรยายให้ความรู้และทำ Workshop ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Power Bi ซึ่งเป็นเทคโนโลยีและเครื่องมือที่จะช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลในทางธุรกิจด้าน Business Intelligence ได้อย่างง่ายดาย รวดเร็ว และการใช้ Google Data Studio (GDS) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่แสดงผลข้อมูลรายงานในรูปแบบรูปภาพ (Data Visualization) ที่มาจาก Google Analytics โดยผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าแสดงข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้งานบน Dashboard ได้ และ เลือกรูปแบบในการประมวลผลรายงานได้เอง ไม่ว่าจะเป็นธีมสีของ Dashboard รูปแบบการนำเสนอ เช่น กราฟแท่ง Pie Chart 2 มิติ หรือ 3 มิติ และอื่น ๆ การตั้งค่า Customized เพื่อเลือกแสดงผลลัพธ์แบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งนักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการทำงาน และมีศักยภาพทางการแข่งขันในตลาดแรงงาน และมีความพร้อมในการก้าวเข้าสู่การทำงานอย่างมืออาชีพในภาคธุรกิจต่อไปในอนาคต

ข่าวชิ้นนี้เผยแพร่โดย iChiangMaiPR.com
หมวดหมู่: การศึกษา
คำค้น: