ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มช. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเลี้ยงผึ้งในภูมิภาคแม่โขง-ล้านช้าง ครบวงจร”

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มช. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการเลี้ยงผึ้งในภูมิภาคแม่โขงล้านช้าง ครบวงจรเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในการเลี้ยงผึ้งและผลิตภัณฑ์ผึ้ง ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงสำหรับการค้าข้ามพรมแดน

รองศาสตราจารย์ ดร. วินิตา บุณโยดม รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการยกระดับการเลี้ยงผึ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งในภูมิภาคแม่โขงล้านช้าง ครบวงจร โรงแรมยูนิมมานเชียงใหม่

ผศ.ดร. เทิดดิษย ธนูวัฒน์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในนามของหัวหน้าโครงการการยกระดับการเลี้ยงผึ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งในภูมิภาคแม่โขงล้านช้าง ครบวงจร เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขงล้านช้าง ประจำปี ..2564 เพื่อจัดโครงการต่างๆ เพื่อยกระดับการเลี้ยงผึ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งในภูมิภาคแม่โขงล้านช้าง ระหว่างปี .. 2565-2567 โดยแผนดำเนินงานในปี ..2565 มีวัตถุประสงค์เพื่ออบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งในด้านการผลิตอย่างครบวงจรพัฒนาไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์อย่างคุ้มค่า และช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้งให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล

การเลี้ยงผึ้งพันธุ์เป็นอุตสาหกรรมแมลงเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก ในประเทศไทยพบว่ามีการเลี้ยงผึ้งพันธุ์มากที่สุดในภาคเหนือของประเทศ รายได้จากการส่งออกน้ำผึ้งโดยเฉพาะน้ำผึ้งลำไยสร้างมูลค่าการส่งออกหลายล้านบาทต่อปีและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากผึ้ง ได้แก่ นมผึ้ง เกสรผึ้งและพรอพอลิส ที่มีตลาดที่ยั่งยืนทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่ใช้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพและความงาม ที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ และสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และเวชสำอางได้

การส่งเสริมและยกระดับองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงผึ้งจะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้ง ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้กับสินค้าน้ำผึ้งและผลิตภัณฑ์จากผึ้งในตลาดโลกได้ ด้วยความร่วมมือด้านการค้าระหว่างประเทศสมาชิกของภูมิภาคแม่โขงล้านช้างกับประเทศจีน โดยเฉพาะโครงสร้างที่จัดตั้งขึ้นใน One Belt One Road และสถานการณ์ปัจจุบันนี้ภาคการเกษตรควรได้รับการส่งเสริมและร่วมมือกันทั่วทั้งภูมิภาค เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและผลิตวัตถุดิบสำหรับการบริโภคของมนุษย์อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามข้อมูลและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อยกระดับเลี้ยงผึ้งในภูมิภาคแม่โขงล้านช้าง ยังมีอยู่ไม่เพียงพอ และการถ่ายทอดความรู้ยังคงมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นโครงการนี้จะช่วยยกระดับและส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งในภูมิภาคแม่โขงล้านช้างอย่างเป็นระบบเพื่อก้าวสู่มาตรฐานสากลและอนุรักษ์พันธุ์ผึ้งในภูมิภาคแม่โขงล้านช้าง

เนื่องจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการรวบรวมองค์ความรู้และถ่ายทอดผลงานวิจัยต่างๆ โครงการนี้จะช่วยยกระดับและส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งในภูมิภาคแม่โขงล้านช้างอย่างเป็นระบบเพื่อก้าวสู่มาตรฐานสากลและอนุรักษ์พันธุ์ผึ้งในภูมิภาคแม่โขงล้านช้าง โดยโครงการนี้เป็นการวิจัยร่วมกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคแม่โขงล้านช้างในการสำรวจสุขภาพของผึ้ง ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้ง/อุตสาหกรรมเลี้ยงผึ้งและนักวิทยาศาสตร์เพื่อติดตามสุขภาพผึ้ง การจัดการการเลี้ยงผึ้งอย่างเป็นระบบสำหรับการผลิตภัณฑ์จากผึ้งที่มีคุณภาพเพื่อการบริโภคและเพื่อการค้า  การแบ่งปันนโยบายทางการค้าผลิตภัณฑ์ผึ้งที่มีคุณภาพ เช่น น้ำผึ้ง นอกจากนี้การวิเคราะห์ข้อมูล (Big data analyze) ขององค์ความรู้ที่เกิดจากดำเนินโครงการ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลเหล่านี้กับลักษณะทางสิ่งแวดล้อม จะทำให้เกิดภาพแบบองค์รวมเพื่อช่วยให้เห็นภาพใหญ่ในการอนุรักษ์ผึ้งเอเชีย

ผศ.ดร. เทิดดิษย ธนูวัฒน์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวด้วยว่า โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนจำนวน 12 ล้านบาทจากรัฐบาลจีนและไทย มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปีๆ นี้เป็นปีแรก ซึ่งเป้าหมายปลายทางของโครงการเพื่อยกระดังคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งใน 6 ประเทศลุ่มน้ำโขงและล้านช้าง ซึ่งจะมีนโยบายที่ขับเคลื่อนทั้งการส่งออกและนำเข้า การเพิ่มมูลค่าผึ้งของกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงล้านช้างเพื่อรวมกันเป็นกลุ่มก้อนในการต่อสู้กับทางยุโรปเป็นการเพิ่มอำนาจการต่อรองในตลาด เพราะยกตัวอย่างแค่ประเทศไทยอุตสาหกรรมผึ้งไทยมีมูลค่าถึง 60 ล้านบาทต่อปี ขณะที่เวียดนามเป็นประเทศที่ส่งออกน้ำผึ้งมากที่สุด โดยแต่ละประเทศก็จะมีศักยภาพเด่นที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นการสร้างเครือข่ายจึงเป็นส่วนสำคัญที่มาเติมเป็นจุดแข็งในตลาดโลก.

ข่าวชิ้นนี้เผยแพร่โดย iChiangMaiPR.com
หมวดหมู่: การศึกษา, สังคม, สิ่งแวดล้อม, เศรษฐกิจ