ดร.สุดเขต สกุลทอง ผช.อธิการบดี ม.แม่โจ้ ,ผศ.ดร.สถาพร แสงสุโพธิ์ รอง คณบดีฝ่ายวิชาการ และคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ม.แม่โจ้ เยี่ยมชมโซนช้างชรา ปางช้างแม่สา อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ชมการทำอาหารให้ช้างชราการทำปุ๋ยหมักมูลช้าง กระดาษจากมูลช้าง เตรียมร่วมพัฒนาต่อยอดและอนาคตจะเป็นศูนย์เรียนรู้ที่สำคัญ ตั้งแต่การเลี้ยงช้างวัยเด็กสู่ช้างชรา ก็จะขอร่วมมือในการอนุรักษ์ทั้งด้านการท่องเที่ยว และดูในหลายๆเรื่องโดยเฉพาะในเรื่องการผลิตภัณฑ์ปุ๋ยมูลช้างที่มีนักวิจัยเข้ามาทำอยู่แล้ว ซึ่งทาง ม.แม่โจ้ จะมีส่วนร่วมในมาตฐานของสินค้าโดยทีมวิจัยจะต้องร่วมพัฒนาสินค้าให้ดียิ่งๆขึ้นไปและที่แห่งนี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีให้ผู้ที่มีความสนใจเข้ามาร่วมมือกันและสามารถต่อยอดออกไปได้
ด้านผู้บริหารปางช้างแม่สา คุณอัญชลี กัลมาพิจิตร ได้เผยว่าหลังจากที่ผจญปัญหาโควิดมายาวนานร่วม 3 ปีส่งผลกระทบการท่องเที่ยวไม่มีรายได้เข้ามาต้องเรียงดูช้างกว่า 70 เชือก ในตอนนี้ก็มีความหวังว่าจะฟื้นฟูเรื่องการท่องเที่ยวซึ่งก็ยังค่อยเป็นค่อยไปรายได้ต่างๆที่จะนำกลับมาเลี้ยงช้างก็ไม่เพียงพอทำให้ติดลบหลายสิบล้านบาท แต่เราได้พัฒนาเรื่องปุ๋ยมูลช้างอินทรีย์และกระดาษมูลช้างก็อยากได้นักวิชาการอยากได้องค์รู้เข้ามาเสริมเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของปางช้างแม่สา ไม่ว่าผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์สูตรต่างๆได้รับการรับรองผู้บริโภคมีความมั่นใจสามารถที่จะนำออกจำหน่ายในประเทศไทยและต่างประเทศเพื่อที่จะนำรายได้เข้ามาเลี้ยงช้างแม่สาจำนวน 68 เชือกได้
ข่าวชิ้นนี้เผยแพร่โดย iChiangMaiPR.com
หมวดหมู่: การศึกษา, การเกษตร, กิจกรรม, สิ่งแวดล้อม
คำค้น: การเรียนรู้, ช้าง, ช้างชรา, ปางช้างแม่สา, ม.แม่โจ้, เชียงใหม่