ประเทศญี่ปุ่นได้เร่งสนับสนุนประเทศไทยในการรับมือกับวิกฤตโควิด-19

ในปี พ.ศ.2554 ได้เกิดเหตุการ์ณแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิที่โทโฮกุในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประเทศไทยเองก็ประสบอุทกภัยน้ำท่วมรุนแรงเช่นเดียวกัน โดยทั้งญี่ปุ่นและไทยต่างก็ได้ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทุกครั้งที่เจอวิกฤต โดยมีการสานความสัมพันธ์อันดีที่แน่นแฟ้นมาโดยตลอด และในวิกฤตโรคติดต่อครั้งนี้ ประเทศญี่ปุ่นยินดีให้ความร่วมมือแก่ประเทศไทยอย่างเต็มที่เพื่อฟื้นฟูสถานการณ์ให้กลับมาดีขึ้นกว่าเดิม (build back better)
ในครั้งนี้ประเทศญี่ปุ่นได้เร่งสนับสนุนประเทศไทยในการรับมือกับวิกฤตโควิด-19โดยเร็วที่สุด ดังนี้
1. การบริจาควัคซีน
2. การเตรียมความพร้อมระบบลูกโซ่ความเย็นที่จำเป็นต่อการจัดเก็บและการขนส่งวัคซีน
3. การส่งเสริมระบบการตรวจหาเชื้อและการพัฒนายารักษาโรคให้ประเทศไทยซึ่งกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตโควิด-19 อยู่ในขณะนี้

มาตรการความร่วมมือและการสนับสนุนหลักมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. การบริจาควัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (ประมาณ 1,050,000 โดส)
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564 มีมติคณะรัฐมนตรี ให้มีพิธีลงนามหนังสือแลกเปลี่ยน (Exchange of Notes) และในวันที่ 9 กรกฏาคม พ.ศ. 2564 วัคซีนจากญี่ปุ่นได้จัดส่งมาถึงประเทศไทย โดยทำพิธีส่งมอบวัคซีนในวันที่ 12 กรกฏาคม พ.ศ. 2564
2. ความร่วมมือทวิภาคีเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังไวรัสและการตรวจหาเชื้อ รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนายารักษาโรค (จำนวนเงิน 5,500,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยการจัดส่งผู้เชี่ยวชาญและส่งมอบอุปกรณ์ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
– เพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์หาเชื้อ, การเพิ่มขีดความสามารถในการเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส และกานเพิ่มศักยภาพในการควบคุมคุณภาพของวัคซีน (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข)
– เพื่อสนับสนุนการทำวิจัยทางด้านการพัฒนาแอนติบอดี เพื่อพัฒนายารักษาโควิด-19 (ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยแอนติบอดี, มหาวิทยาลัยมหิดล)
– เพื่อเพิ่มศักยภาพในการตรวจหาเชื้อ และการวินิจฉัยโรค รวมทั้งโควิด-19 ด้วยเช่นกัน (สถาบันบำราศนราดูร)
3. ความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศในประเทศไทย (จำนวนเงิน 12,250,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
ให้การสนับสนุนพัฒนาในการปรับปรุงยกระดับห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยเพื่อการทดลองและวิจัยโรคติดต่อของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข (โดยจัดสรรงบประมาณผ่าน WHO จำนวน 11,500,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งเป็นศูนย์กลางหลักในการตรวจหาเชื้อไวรัสรวมถึงตรวจหาเชื้อโควิด-19, การวิจัยเกี่ยวกับการตรวจและการรักษาโรค, การพัฒนาวัคซีน รวมทั้ง การพัฒนาบุคลากร ทั้งยังให้การสนับสนุนเพื่อการเตรียมความพร้อมระบบลูกโซ่ความเย็นที่จำเป็นต่อการจัดเก็บและการขนส่งวัคซีน (อุปกรณ์สำหรับเก็บรักษาความเย็นหรืออุปกรณ์ที่ใช้วัดอุณหภูมิ ฯลฯ) (มอบเงินแก่ UNICEF จำนวน 750,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
4. ความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่น – อาเซียน
ญี่ปุ่นมอบเงินสนับสนุนจำนวน 50,000,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในการจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือต่อภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ รวมทั้งด้านการตรวจโรค ทั้งนี้ ทางญี่ปุ่นจะให้ความร่วมมือกับไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางการแพทย์ในภูมิภาคนี้อย่างเต็มที่อีกด้วย

หวังเป็นอย่างยิ่งว่ามิตรภาพที่มีจะช่วยให้เราผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน กลับมาสู่การเดินทางไปมาหาสู่กันด้วยรอยยิ้มเร็วที่สุด

ข่าวชิ้นนี้เผยแพร่โดย iChiangMaiPR.com
หมวดหมู่: สังคม
คำค้น: , ,