เชียงใหม่ปิดศูนย์บัญชาการคณะทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าฯ พร้อมนำปัญหาในพื้นมาถอดบทเรียน เตรียมแผนการดำเนินการในปีต่อไป

นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายคมสัน สุวรรณอัมพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมผ่าน VTC ร่วมกับ 17 จังหวัดภาคเหนือ เพื่อติดตามสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี พล.. จิรเดช กมลเพ็ชร รองแม่ทัพภาคที่ 3 รองผู้บัญชาการกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า เป็นประธานการประชุม

โดยจังหวัดเชียงใหม่ สรุปสถานการณ์ปัญหาฝุ่นควันและไฟป่าจังหวัดเชียงใหม่ ในห้วงที่ผ่านมามีจุดความร้อน (Hotspot) ตั้งแต่วันที่ 1 .. – 29 เม.. 63 ทั้งหมด จำนวน 21,183 จุด มากกว่าปีที่ผ่านมาจำนวน 6,429 จุด เกิดในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 8,891 จุด พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 11,251 จุด เขต สปก. 492  จุด ชุมชนและอื่นๆ 416 จุด ริมทางหลวง 19 จุด และพื้นที่เกษตร 114  จุด ซึ่งพบมากที่สุดอำเภอ 3 อันดับแรก คือ .เชียงดาว จำนวน 2,718 จุด .แม่แจ่ม จำนวน 2,410 จุด และอ.อมก๋อย จำนวน 2,379 จุด ในส่วนของผลการแจ้งความดำเนินคดี รวมทั้งหมด 1,380 คดี แบ่งเป็น 1....ป่าไม้ฯ / ...ป่าสงวนฯ 1,259 คดี 2. ...สาธารณสุขฯ 29 คดี 3. ...จราจรฯ 92 ราย ซึ่งวานนี้ (29 เม..63) ได้แจ้งความดำเนินคดีจำนวน 13 คดี 4 อำเภอ จับกุมตัวผู้ต้องหาได้ 4 ราย ในพื้นที่ .ฝาง 1 ราย (นายชาญชัย  ศิริสุนทร) , .ฮอด 2 ราย (นายใส ใจประสงค์ และนายนันทนคร ปัญญาวงค์) และ .พร้าว 1 ราย (นายกั่ว เลาซ้ง)

อย่างไรก็ตามในห้วง 3 วันที่ผ่านมา จังหวัดเชียงใหม่มีฝนตกในหลายพื้นที่ ทำไม่พบจุดความร้อน รวมถึงค่าคุณภาพอากาศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ทางจังหวัดจะได้มีการปิดศูนย์บัญชาการฯ แล้ว แต่ยังคงมีการติดตามการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องของการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยทางสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ จะมีการติดตามการบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามแผนงาน

สำหรับแนวทางของจังหวัดเชียงใหม่จะเน้นให้ทุกอำเภอบริหารจัดการเชื้อเพลิงด้วยวิธีการอื่นมากกว่าการเผา เช่น การทำปุ๋ยหมัก การนำเศษวัสดุทางการเกษตรส่งให้โรงงานอุตสาหกรรมอัดใบไม้เป็นก้อน ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง โดยกำชับว่าจะให้ใช้วิธีการเผาเป็นลำดับสุดท้าย ซึ่งจากที่ก่อนหน้านี้ได้ในทุกอำเภอส่งแผนการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ของตนเองมาให้จังหวัดพิจารณาวางแผน และหากกรณีที่ทางอำเภอใดที่มีการบริหารจัดการเชื้อเพลิงโดยการเผา ขอให้ปฏิบัติตามมาตรการของทางจังหวัด 8 ข้ออย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

ทั้งนี้ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำรวจการพื้นที่โดยให้อ้างอิงจากข้อมูลการลงทะเบียนบัญชีรายชื่อผู้หาของป่าล่าสัตว์เมือปีที่แล้ว โดยให้สำรวจหาสภาพของปัญหาในพื้นที่เชิงลึก แต่ละหมู่บ้าน เพื่อนำมาถอดบทเรียน เตรียมแผนการดำเนินการในปีต่อไป  และเนื่องจากในช่วงนี้ เป็นช่วงที่มีการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จึงขอให้ดึงศักยภาพของชุดลาดตระเวน เฝ้าระวังประจำหมู่บ้าน ประชาสัมพันธ์อบรมให้ความรู้ให้กับชาวบ้าน เกี่ยวกับแนวทางการดับไฟป่า หรือการทำแนวกันไฟ เพื่อสามารถให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานกับเจ้าหน้าที่ได้อย่างเต็มที่

ข่าวชิ้นนี้เผยแพร่โดย iChiangMaiPR.com
หมวดหมู่: Uncategorized
คำค้น: , , ,