NIA จับมือ คณะแพทย์ มช. เปิดตัวย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอก พร้อมโชว์ MedTech สุดล้ำฝีมือคนไทย

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดงาน “MED CHIC Innovation Day 2019” ภายใต้หัวข้อขับเคลื่อนการบริการทางการแพทย์สู่นวัตกรรมทางการแพทย์ (Driving Healthcare through Innovation)” พร้อมเปิดตัวย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอก (Suandok Medical Innovation District)” เพื่อผลักดันนวัตกรรมทางการแพทย์ และสร้างความตื่นตัวในด้านนวัตกรรมต่อบุคคลากรทางการแพทย์ ผู้ประกอบการ นักธุรกิจ สตาร์ทอัพ ตลอดจนบุคคลทั่วไปให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ ให้เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพและเอื้อต่อการพัฒนาผลงานนวัตกรรมต่อไปในอนาคต ชั้น 15 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วย ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA และ .นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทย์ มช. เป็นประธานร่วมเปิดงานในครั้งนี้

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่าการลงนามความร่วมมือการพัฒนาย่านนวัตกรรม (Innovation District) ของประเทศไทย ระหว่าง NIA และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ เป็นความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่เป้าหมาย (ตามหลักเกณฑ์คัดเลือกพื้นที่ย่านนวัตกรรม) เพื่อใช้เป็นพื้นที่ดำเนินการด้านพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมของวิสาหกิจเริ่มต้น และเป็นพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษด้านนวัตกรรม โดยมีขอบเขตความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งย่านนวัตกรรมในพื้นที่ เพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจอนาคต การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ร่วมกับพื้นที่เป้าหมาย นำร่องในย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอกเพื่อให้เป็นพื้นที่ย่านนวัตกรรมที่มีศักยภาพของสินทรัพย์ครบ 3 ด้านคือ ด้านเครือข่าย ด้านเศรษฐกิจ และด้านกายภาพ ซึ่งหากมีการวางแผนไว้อย่างเหมาะสม จะเกิดเป็นระบบนิเวศนวัตกรรมได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งยังจะร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้น ตามนโยบายสนับสนุนวิสาหกิจเริ่มต้นของรัฐที่ NIA ได้รับมอบหมาย โดยดำเนินการร่วมกับศูนย์บ่มเพาะและเร่งสร้างวิสาหกิจเริ่มต้นในรูปแบบและกลไกต่างๆ

ย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอกเป็นแนวคิดต่อยอดการพัฒนาย่านนวัตกรรมในประเทศไทยไปสู่ระดับภูมิภาค การมุ่งเป้าไปยังพื้นที่ย่านสวนดอกในจังหวัดเชียงใหม่นั้น เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีศักยภาพสูง ทั้งในเชิงกายภาพที่มีการกระจุกตัวของพื้นที่ให้บริการทางการแพทย์หลายแห่ง ทั้งยังมีความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนในพื้นที่ เช่น อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STEP) ศูนย์บริการและส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม และหน่วยงานภายนอกเพื่อสร้างความร่วมมือในการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีในการสร้างนวัตกรรมให้เกิดผลสำเร็จ รวมถึงพื้นที่ Co-Working Space อย่าง Chiang Mai & Co. หรือพื้นที่สร้างสรรค์อื่นๆ ที่เอกชนเป็นผู้ดำเนินการเอง สามารถร่วมมือกันผลักดันแนวคิดย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอกให้เกิดเป็นผลสำเร็จได้ โดยจะมุ่งเน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่และกิจกรรมภายในเมืองหรือย่านให้ดึงดูดกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม และธุรกิจใหม่ให้มีการรวมกลุ่มเป็นคลัสเตอร์ พร้อมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัยและผู้ดำเนินกิจกรรมภายในย่านให้มีการรับรู้ การแลกเปลี่ยนข้อมูล การส่งเสริมการใช้นวัตกรรม รวมถึงการทำกิจกรรมในพื้นที่ร่วมกัน โดยมุ่งหวังว่าการเกิดขึ้นของย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอก จะช่วยขับเคลื่อน Deep-Tech Startup ในด้าน Health-Tech ให้เพิ่มสูงขึ้น เกิดมูลค่าการลงทุนด้านนวัตกรรม ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทางการแพทย์ และเพิ่มประสิทธิภาพการวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ดร.พันธุ์อาจ กล่าวเพิ่มเติม

รองศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่าปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนาของประเทศ มีนโยบายและยุทธศาสตร์ในการมุ่งเน้นสร้างองค์ความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนา เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมด้านอาหารและเกษตรกรรม ด้านสุขภาพและสังคมผู้สูงอายุ ด้านพลังงานชีวภาพ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่สามารถนาไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ได้จริง ตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรมของประเทศ ตามแนวยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 อีกทั้ง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยังมียุทธศาสตร์ในการแสวงหานวัตกรรมตามศักยภาพและจุดแข็งของมหาวิทยาลัย ที่นอกเหนือจากการให้ความสาคัญกับการพัฒนานวัตกรรมที่จาเป็นเร่งด่วนสาหรับตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมแล้ว โดยเฉพาะการส่งเสริมการวิจัยพื้นฐานขั้นก้าวหน้า (Frontier research) ที่จะนาไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงที่จะทาให้เกิดการสร้างผลกระทบอย่างมากต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้ทัดเทียมกับนานาประเทศในอนาคตต่อไป

สำหรับการลงนามความร่วมมือในการพัฒนาย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอกในครั้งนี้นับเป็นโอกาสที่ดี เนื่องจากย่านสวนดอก หนึ่งในพื้นที่ที่มีศักยภาพสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ที่ครอบคลุมด้วยแหล่งเศรษฐกิจและพื้นที่การค้าที่ตอบรับกับวิถีชุมชน สถานที่ท่องเที่ยว พื้นที่อยู่อาศัย และมหาวิทยาลัยชั้นนำ โดยมีจุดเด่นสำคัญคือเป็นย่านที่มีการกระจุกตัวของโรงพยาบาล สถานบริการทางการแพทย์ คลินิกเอกชน บุคลากรด้านการแพทย์เป็นจำนวนมาก มีพื้นที่วิจัยและพัฒนาเพื่อส่งเสริมนวัตกรรม ตลอดจนพื้นที่เพื่อการสร้างสรรค์และแบ่งปันไอเดียอย่าง Co – Working Space ซึ่งสามารถรองรับกลุ่มคนที่เข้ามาได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนักวิจัย นักธุรกิจ นักลงทุน และสตาร์ทอัพ ทำให้ย่านสวนดอกกลายเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมต่อการเปิดรับสิ่งใหม่ที่จะเข้ามายังพื้นที่ได้ในอนาคต และเป็นที่มาของการริเริ่มทำกิจกรรมเชิงลึกเพื่อสนับสนุนในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งศูนย์เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และบุคลากร เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ศาสตราจารย์นายแพทย์ บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คณะแพทยศาสตร์ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ได้จริงทั้งเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์ ซึ่งการจัดกิจกรรมในวันนี้ถือเป็นการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ให้บุคคลทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรทางการแพทย์ ได้ทราบถึงการขับเคลื่อนการบริการทางการแพทย์สู่นวัตกรรมของคณะแพทยศาสตร์ และเห็นถึงตัวอย่างแนวทางการขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ในกิจกรรมงานเสวนา และเพื่อเป็นการสร้างแรงขับเคลื่อนภายในองค์กรให้เกิดการพัฒนาบริการทางการแพทย์สู่นวัตกรรมมากขึ้น สำหรับกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การแถลงข่าวเปิดตัวย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอก การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอก การแถลงข่าวเปิดตัวหุ่นสำหรับช่วยฝึกฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานนอกจากนี้ ยังมีส่วนนิทรรศการแสดงผลงานและเทคโนโลยีในการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์จากกลุ่มสตาร์ทอัพและคณาจารย์ทางการแพทย์ กว่า 30 ราย อาทิ Application “การประเมินอาการ IPAINA2D ในผู้สูงอายุผลิตภัณฑ์เร่งการสมานแผล ALIVE CPR-AED Trainer และกิจกรรมการเสวนาด้านนวัตกรรมทางการแพทย์ที่น่าสนใจจากผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ เช่น Mission to the Moon: Disrupting Healthcare with Tech Startup, From Lab Scale to Industrial Scale: Health Innovation Success Stories โดยได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนอย่างดีจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ สานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโนยี ภาคเหนือ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ภาคเหนือ ศูนย์ศรีพัฒน์ และศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์

ข่าวชิ้นนี้เผยแพร่โดย iChiangMaiPR.com
หมวดหมู่: การค้า - การลงทุน, การตลาด, การศึกษา, กิจกรรม, สังคม, สุขภาพ, เศรษฐกิจ, ไอที - ยานยนต
คำค้น: , , , , , , ,