รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ เยือนถิ่นล้านนา เยี่ยมชมการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จ.เชียงใหม่)

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นำคณะผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและวิสาหกิจ อาทิ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ, สำนักงานสถิติจังหวัดเชียงใหม่, สำนักงานไปรษณีย์ เขต 5 และสำนักงานบริการลูกค้า กสท เขตเหนือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT) เยี่ยมชมการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (.เชียงใหม่) หน่วยงานผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจและสร้าง Startup ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อยกระดับศักยภาพธุรกิจในเขตภาคเหนือ พร้อม ร่วมรับฟังการแนะนำธุรกิจจากตัวแทนผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพด้าน Deep Tech และ Digital Health Tech ที่ได้รับการบ่มเพาะธุรกิจจากอุทยานฯ โดยมี ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) นำเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ร่วมให้การต้อนรับคณะฯ ในฐานะมหาวิทยาลัยแม่ข่ายดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ NSP VVIP Lounge อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่)

ในการนี้ ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ให้เกียรติบรรยายสรุปการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ผ่านการให้บริการสร้างสรรค์นวัตกรรมครบวงจรภายใต้กรอบแนวคิด Total Innovation Solutions ที่แวดล้อมด้วยระบบนิเวศนวัตกรรม หรือ Innovation Ecosystem ซึ่งได้แก่ การให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STI Services) บริการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี บริการด้านการวิจัยและพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม จับคู่พันธมิตรธุรกิจและแนะนำแหล่งทุนที่เหมาะสม พร้อมพื้นที่สนับสนุนและอำนวยความสะดวกต่าง อีกมากมายที่พร้อมผลักดันให้เกิดกลไกการสร้างสรรค์นวัตกรรมพัฒนาธุรกิจ จากนั้น นำชมพื้นที่ให้บริการโดยรอบอาคารฯ อาทิ THE BRICK X @NSP พื้นที่สร้างสรรค์ไอเดียธุรกิจในรูปแบบ Co-working Space พร้อมปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นสำหรับจัด Event และ Workshop, THE BRICK FABLAB แลปปฏิบัติการขึ้นรูปตัวอย่างชิ้นงานด้วยเทคโนโลยี 3D Printing, NSP INNO STORE พื้นที่ทดสอบตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจาก SMEs และ Startup ที่รับบริการจากอุทยานฯ และพร้อมผลักดันสู่เชิงพาณิชย์ ตลอดจนพื้นที่ Startup Office zone เป็นต้น

โดย ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ ร่วมรับฟังการแนะนำธุรกิจจากตัวแทนผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพด้าน Deep Tech และ Digital Health Tech ที่ได้รับการบ่มเพาะธุรกิจจากอุทยานฯ โดยนำเสนอแผนการดำเนินงานและแนวทางการสนับสนุนธุรกิจจาก 9 สตาร์ทอัพ ประกอบด้วย บริษัท ฮอร์แกไนซ์ จำกัด ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันบริหารจัดการหอพักรูปแบบออนไลน์ ที่ช่วยให้การบริหารจัดการเรื่องการคำนวนค่าน้ำค่าไฟ การออกบิล ฯลฯ รวดเร็วมากยิ่งขึ้น, บริษัท มณีจันทร์ ไอโอที โซลูชั่น จำกัด ผู้พัฒนาระบบ Key Phone หรือระบบกุญแจอิเล็คโทรนิกส์ควบคุมการเปิดปิดประตูแบบ แถบแม่เหล็กผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือด้วยรหัสความปลอดภัยขั้นสูง โดยใช้เทคโนโลยีการเชื่อมโยงแบบ IoT, บริษัท ไปด้วยกันมั๊ย จำกัด ผู้พัฒนาระบบบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ที่สามารถเชื่อมต่อกับพันธมิตรธุรกิจผู้ส่งสินค้า พร้อมจัดการ

ส่งสินค้าที่มีความซับซ้อนพร้อมกันจำนวนมากได้อย่างมืออาชีพผ่านเว็บไซต์ Fillgoods, บริษัท ไซแนปส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ AI Chatbot ภายใต้ชื่อ Somsri, บริษัท บีนีท จำกัด แพลทฟอร์มบริการแม่บ้านออนไลน์สำหรับเจ้าของกิจการขนาดเล็กและบ้านพักอาศัย, บริษัท เฮกซะโกด้า จำกัด ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน NABOUR ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารและบริหารจัดการงานด้านนิติบุคคลภายในโครงการที่พักอาศัย, บริษัท สเตปโซล จำกัด ผู้พัฒนาอุปกรณ์แปลงภาพพิมพ์เท้าแฮริสสู่ภาพแรงกดในรูปดิจิตอล โดยสามารถแปลงข้อมูลไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์แผ่นรองเท้าที่มีขนาดเฉพาะบุคคล โดยช่วยบรรเทาอาการปวดเท้าให้ดีขึ้น, บริษัท อินโนเอดจ์ โกโก จำกัด ผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับประเมินความเจ็บปวดในผู้ป่วยสมองเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุโดยใช้นวัตกรรมสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูล และ บริษัท สไมล์ ไมเกรน จำกัด ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับบันทึกอาการปวดศรีษะไมเกรนที่สามารถวิเคราะห์และประมวลผลอาการเบื้องต้น พร้อมแนะนำวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่ผู้ป่วยได้ ทั้งนี้ เพื่อหาแนวทางในการสนับสนุนและต่อยอดธุรกิจกับโครงการต่าง จากหน่วยงานภาครัฐและวิสาหกิจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สาธารณชน ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการสู่การผลักดันสตาร์ทอัพไทยให้เติบโตในเวทีโลก

ข่าวชิ้นนี้เผยแพร่โดย iChiangMaiPR.com
หมวดหมู่: การค้า - การลงทุน, การศึกษา, นโยบายการเมือง, สังคม, เศรษฐกิจ, ไอที - ยานยนต
คำค้น: , , , , , ,