ภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคเหนือไตรมาส 2 ปี 2561 ขยายตัวจากไตรมาสก่อน ผลผลิตภาคเกษตร เพิ่มขึ้นมากทำให้รายได้เกษตรกรขยายตัว วัตถุดิบภาคเกษตรที่เพิ่มข้ึนประกอบกับความต้องการจากต่างประเทศที่ดี ต่อเนื่องทำให้ผลผลิตอุตสาหกรรมในหมวดอาหารและหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ภาคการท่องเที่ยว ขยายตัวต่อเนื่อง ด้านการใช้จ่ายภาครัฐปรับดีขึ้น การบริโภคภาคเอกชนปรับลดลงเล็กน้อย การลงทุนภาคเอกชนใน ส่วนของการก่อสร้างยังอยู่ในระดับต่ำเช่นเดียวกับไตรมาสก่อน แต่การลงทุนเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกยังดีต่อเนื่อง
เสถียรภาพเศรษฐกิจภาคเหนือ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นตามราคาน้ามัน อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือ มีดังนี้
รายได้เกษตรกร เพิ่มขึ้นร้อยละ 93.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากผลผลิตเกษตรเพิ่มข้ึนมาก ร้อยละ 82.0 ตามผลผลิตอ้อยโรงงานและข้าวนาปรัง เนื่องจากสภาพอากาศและปริมาณน้ำเอื้ออำนวย สำหรับผลผลิต ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสาปะหลัง และลิ้นจี่ลดลงตามพื้นท่ีเพาะปลูก ด้านราคาเพิ่มข้ึนร้อยละ 6.3 ส่วนสำคัญจากราคา ข้าวเปลือกเจ้านาปรังเพิ่มขึ้นตามความต้องการของต่างประเทศ ประกอบกับราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และ ล้ินจี่สูงขึ้นเนื่องจากผลผลิตลดลง สำหรับราคาอ้อยโรงงานลดลงตามผลผลิตที่มากขึ้นและราคาน้ำตาลในตลาดโลก ท่ีลดลง
ผลผลิตอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 9.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน จากผลผลิตน้ำตาลและการสีข้าวตาม วัตถุดิบภาคเกษตรท่ีเพิ่มข้ึนมาก รวมท้ังผลผลิตสินค้าแปรรูปผักผลไม้แช่แข็งและช้ินส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งออก ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนตามความต้องการจากต่างประเทศ ส่วนผลผลิตของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มปรับลดลง สู่ระดับปรกติ
ภาคการท่องเท่ียว ขยายตัวต่อเนื่อง ท้ังนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยนักท่องเที่ยวชาวจีน ยังเป็นกลุ่มหลักท่ีขยายตัว เครื่องชี้การท่องเท่ียวท่ีสำคัญเพิ่มข้ึนจากระยะเดียวกันปีก่อน ได้แก่ จำนวนนักท่องเท่ียว ต่างชาติผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานเชียงใหม่ จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานในภาคเหนือ และอัตราการ เข้าพักแรมของที่พักแรมในภาคเหนือ
การใช้จ่ายภาครัฐ รายจ่ายรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 จากรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 และลงทุน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 ตามการเบิกจ่ายของเงินอุดหนุนทั่วไปของสานักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ค่าก่อสร้างของ กรมชลประทาน และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม อัตราการเบิกจ่าย สะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2561 อยู่ที่ร้อยละ 69.1 ต่ำกว่าเป้าหมายที่ภาครัฐกำหนดไว้ที่ร้อยละ 74.3
การบริโภคภาคเอกชน ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 1.1 โดยการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าคงทนใน หมวดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลชะลอลงแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี จากการส่งเสริมการขายของบริษัทผู้ผลิต ตัวแทนจำหน่าย และบริษัทเช่าซื้อให้เงื่อนไขที่ผ่อนปรนที่มีต่อเนื่อง การใช้จ่ายเพื่อซื้อรถจักรยานยนต์ลดลงเนื่องจากกำลังซื้อฐานรากยังไม่ เข้มแข็ง อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายสินค้าในชีวิตประจำวันหดตัวน้อยลงและมีทิศทางปรับดีขึ้นในทุกหมวดสินค้า
การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาคก่อสร้างยังอยู่ในระดับต่ำเช่นเดียวกับไตรมาสก่อน สะท้อนจาก ยอดคงค้างสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ให้แก่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ และพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากอุปทานคงค้างทั้งอาคารแนวราบและห้องชุดยังเหลืออยู่มาก ส่งผลให้โครงการอสังหาริมทรัพย์เปิดใหม่มีน้อย ส่วนการลงทุนในภาคการผลิตโดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งออกยังมีการนาเข้าเครื่องจักรต่อเนื่อง
การค้าผ่านด่านศุลกากรชายแดนในภาคเหนือ ปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อน มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ17.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวในสินค้าประเภทน้ามัน ผลไม้สด เครื่องจักรกลการเกษตร และโทรศัพท์มือถือ ดา้ นมูลค่านาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 จากการนาเข้าเศษเหล็กจากเมียนมาเป็นหลัก
เสถียรภาพเศรษฐกิจภาคเหนือ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ร้อยละ 0.8 เพิ่มขึ้นตามราคาน้ามันขายปลีก เชื้อเพลิงที่ใช้ในบ้าน และไฟฟ้าเป็นสาคัญ ขณะที่ราคาหมวดอาหารสดลดลงเพราะผลผลิตออกสู่ตลาดมาก อัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลอยู่ในระดับต่าที่ร้อยละ 1.0 จากความต้องการแรงงานในภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
ภาคการเงิน ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2561 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือมียอดคงค้างเงินให้สินเชื่อ 559,728 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.3 จากยอดสินเชื่อที่ลดลงของธนาคารพาณิชย์บางแห่ง ด้านยอดคงค้างเงินฝาก 680,431 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 82.3
ข่าวชิ้นนี้เผยแพร่โดย iChiangMaiPR.com
หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
คำค้น: ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงิน ไตรมาส 2 ปี 2561, แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงิน ไตรมาส 2 ปี 2561